ตัวอย่างงานวิจัยตามทฤษฎีของ Vygotsky


Title:  
การพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบเมตาคอกนิชั่น โดยใช้เทคนิคดาต้าไมนิ่ง และสแคฟโฟลด์ดิ้ง
Development Metacognitive Learning Environment Using Data Mining Technique and Scaffolding

Authors : 
             Phongthanat Sae-Joo,  Charun Sanrach,  Sumalee Chaijaroen

Publish:
        European Journal of Social Sciences
       ISSN 1450-2267 Vol.29 No.4 (2012), pp. 553-560
       © EuroJournals Publishing, Inc. 2012
      http://www.europeanjournalofsocialsciences.com


แปลโดย
60603086 เฌอริสา นันทา
60603087 ฐานันท์ ตั้งรุจิกุล

บทคัดย่อ
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการค้นคว้าหาความสัมพันธ์ความสามารถของ เมตาคอกนิชั่น เทคนิคดาต้าไมนิ่ง และสแคฟโฟลด์ดิงสำหรับการออกแบบและพัฒนา เป็นแนวคิดที่สำคัญแนวคิดหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความตระหนักรู้ในระหว่างการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และช่วยให้ผู้เรียนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้โดยการใช้เทคนิคดาต้าไมนิ่งเป็นวิวัฒนาการหนึ่งที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในงานการศึกษา พร้อมทั้งระบบความช่วยเหลือหรือสแคฟโฟลด์ดิ้ง ที่สนับสนุนการใช้งานของผู้เรียนให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนของกระบวนการเมตาคอกนิชั่นมี 4 ขั้นตอนคือ การวางแผนการเรียนรู้ (Planning),การทบทวน (Monitoring and Control), การประเมินผล (Evaluation), และการแก้ไขปรับปรุง (Revising) ใช้เป็นกระบวนการในการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม รวมทั้งสแคฟโฟลด์ดิง ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้เรียนได้รับความเข้าใจและความสะดวกสบายในการใช้งานของสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายในการเรียนรู้ได้ มีผู้เชี่ยวชาญ 2 กลุ่มได้ประเมินความเหมาะสมของสภาพสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบเมตาคอกนิชั่น และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาและเทคนิคอยู่ในระดับมาก นักเรียนนำร่องได้รับการพิสูจน์ด้วยสภาพแวดล้อมการเรียนรูแบบเมตาคอกนิชั่นและแสดงความคิดเห็นในการใช้งานอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ:  เมตาคอกนิชั่น(Metacognition), ความรู้ความเข้าใจเมตาคอกนิทีฟ(Metacognitive Knowledge), สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบเมตาคอกนิชั่น(Metacognitive Learning Environment) เทคนิคดาต้าไมนิ่ง (Data Mining Technique), สแคฟโฟลด์ดิ้ง (Scaffolding)
   
   1.    บทนำ(Introduction)
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (B.E 2522) การพัฒนาโดยให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ได้รับการพัฒนาอย่างกว้างขวาง รวมถึงเมตาคอกนิชั่น สร้างโดย John H. Flavell ใน 1979 (1987) ยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์คือปัจจัยสำคัญสำหรับการพัฒนาด้านการศึกษาให้นักเรียนได้เรียนและฝึกฝนบทเรียนด้วยตนเอง
      โดกปกติแล้ววิธีการระบุคุณสมบัติของผู้เรียนแต่ละคนที่มี metacognitive knowledge คือการสังเกตในห้องเรียน และวิธีการนำนักเรียนในชั้นเรียนตระหนึกถึงเมตาคอกนิชั่น คือ การแนะนำพวกเขา เพื่อให้นักเรียนทั้งหมดสามารถเรียนรู้เรื่อง metacognitive knowledge Learning นอกจากนี้ครูผู้สอนสามารถทำนายผลสำเร็จของนักเรียนแต่ละคนโดยพิจารณาพฤติกรรมของผู้เรียนแต่ละคนและแนวคิดของเมตาคอกนิชั่นนักเรียนแต่ละคนที่มี metacognitive knowledge สามารถแก้ไขกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุความสำเร็จได้ในภายหลัง (Feryal Cubucu,2009)
      อัลกอริทึมที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เมตาคอกนิชั่น (Phongthanut et al. 2012) คือ NaiveBayes เป็นการทำนายความถูกต้อง 92.04% ด้วยเทคนิคการจำแนกของ Bayesian ก่อนที่นักเรียนจะเริ่มเรียนบทเรียนใดๆ เขา/เธอ ควรได้รับการยืนยันว่าเป็น Implicit or Explicit Metacognitive knowledge จะแบ่งนักเรียนแต่ละคนด้วยการทดสอบของ Metacognitive Knowledge เพื่อนแบ่งนักเรียนแต่ละคนด้วยเกณฑ์ผ่าน 60% ในแต่ละประเภทความรู้ของเมตาคอกนิชั่นและอย่างน้อย 2 หรือ 3 จึงจะถือว่าเป็นผู้เรียนที่มีความรู้ Metacognitive knowledge อย่างชัดแจ้ง
      สำหรับระเบียบของ Metacognitive (Phongthanut และคณะ 2011) ได้สังเคราะห์จากนักวิจัย 30  คน ระบุถึงกระบวนการ 4 ประเภทของ Metacognitive ประกอบด้วย การวางแผน การติดตามผลและการควบคุม การประเมินผล และการปรับปรุง มากไปกว่านั้น scaffolding เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เมื่อผู้เรียนจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือในข้อมูลเพื่อให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ ท้ายสุดเครื่องมือเหล่านั้นก็ได้ถูกรวบรวมเป็นสภาพการเรียนรู้ Metacognitive โดยใช้เทคนิคดาต้าไมนิ่ง และ scaffolding เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักเรียน

   2.  ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literature)
Metacognition ได้ถูกนิยาม โดย John H Flavell แห่งมหาวิทยาลัย Stanford 1979 ว่าเป็นความรู้หรือCognition เกี่ยวกับผู้ใดผู้หนึ่ง ทั้งภาวะอารมณ์หรือแรงจูงใจ นักวิจัยอื่นๆได้ระบุ Metacognition ว่าเป็น Cognition ที่เกี่ยวกับความรู้ของผู้ใดผู้หนึ่ง และการควบคุม Self-Learning หรือ การพัฒนาแรงจูงใจสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ ความตระหนักรู้และการควบคุมตนเอง (Feryal Cubukcu, 2009) มีสองส่วนหลักของ Metacognition ประกอบคือ Metacognitive Knowledge และระเบียบของ Metacognitive (Regulation)
      Metacognitive Knowledge เป็นส่วนหนึ่งของความรู้เกี่ยวกับตนเอง ความเชื่อ ความสนใจ ความชอบของแต่ละบุคคล และความรู้ในการเปรียบเทียบรวมถึงความเข้าใจระหว่างบุคคล (Cognition Inter person) ความรู้เกี่ยวกับงาน รูปแบบของข้อมูลซึ่งจำเป็นหรือไม่จำเป็นในการเรียนรู้ กลยุทธ์ (Knowledge of กลยุทธ์) ขั้นตอนในการเรียนรู้ในการบรรลุเป้าหมายหรือประสบความสำเร็จ
      Regulation Metacognitive คือ การอ้างถึงความรู้ความเข้าใจที่ไม่เกี่ยวกับขั้นตอน กระบวนการ (John H. Flavelll, 1987) นักวิจัยบางคนเชื่อว่า Metacognition สามารถสอนนักเรียนได้โดยตรงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ดังนั้นความรู้และความเข้าใจสามารถนำให้ Self-Learning ตามแนวคิดของ Metacognition เพื่อสร้างแผนการเรียน การปฏิบัติ การควบคุม และปรับปรุง เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ (Christina, 2006)
      Metacognitive Knowledge สามารถแบ่งได้เป็น Implicit or Explicit Knowledge โดย Bayesian Classifier ดังนั้นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบเมตาคอกนิทีฟ สามารถเตรียมรูปแบบที่เหมาะสมของเนื้อหาสำหรับนักเรียนแต่ละคน (Phongthanat และคณะ, 2012)

สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment)
      สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ไม่ใช่เพียงแค่สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ แต่ยังรวมถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นทั้งในและนอกชั้นเรียน รวมถึงเนื้อหาอิเลคทรอนิกส์ที่นำเสนอให้นักเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้ (สุมาลี, 2008)
ครูผู้สอนสามารถนำสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ไปใช้เพื่อส่งเสริม การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนทั้งโดยนัยและชัดแจ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์ที่ชัดเจนจะช่วยให้นักเรียนได้รับประโยชน์ในการผ่านการทดสอบ เพื่อยืนยันว่านักเรียนเกิดความเข้าใจ (Saskia และคณะ, 2010)
     
เทคนิคดาต้าไมนิ่ง (Data mining Technique)
การจัดแบ่ง (Classification) เป็นกระบวนการเพื่อค้นหารูปแบบหรือวิธีการในการระบุชุดข้อมูลเพื่อใช้ทำนายการพัฒนาโดยใช้ข้อมูลการ Training จากข้อมูลการอบรม (Pang และคณะ, 2005)
      ขั้นการจัดแบ่ง (Procedure Classification) ได้ถูกแสดงให้เห็นภาพโดยใช้ชุดการอบรมเป็น record ตามลักษณะภาพที่ 1 แสดงรูปแบบการจัดแบ่ง

ภาพที่ 1 โมเดลของการจัดแบ่งชั้น (Model of Classification)

 
      การจัดแบ่งแบบ Cluster เป็นเทคนิคพื้นฐานของการเรียนรู้ Unsupervised เพื่อหาโครงสร้างที่  Hidden โดยปราศจากข้อมูลคลาส (Class data) การ cluster ที่ดีควรแบ่ง cluster ที่หลากหลาย และภายใน cluster เดียวกันควรมีความเหมือนกันทั้งหมด โดยพิจารณาจาก Intra-cluster ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็น Cluster เดียวกัน ในขณะที่มีความเหมือนกันอย่างน้อย Inter-cluster เป็นอย่างน้อย

สแค๊ฟโฟลด์ดิ้ว(Scaffolding)
ระบบสแค๊ฟโฟลด์ดิ้งมาจากโครงสร้างของ Scaffold เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ (Staff) ที่ไม่ใช่เพียงโครงสร้าง แต่ยังหมายถึงการทำลายด้วย (Wood, Bruner และ Ross, 1976: 98) ซึ่งถูกเปรียบเทียบด้วยการช่วยเหลือผู้เรียนที่ต้องการความช่วยเหลือในระดับสูง และต้องการบรรลุเป้าหมาย Scaffolding มีพื้นฐานมาจาก Social constructivism ของ Vygotsky ผู้เชื่อว่าเมื่อนักเรียนไม่สามารถเรียนด้วยตนเองในพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ (Zone of Proximal Development: ZPD) ดังนั้นพวกเขามีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจาก Scaffolding เพื่อแก้ไขปัญหา หรือทำงานของพวกเขาให้สำเร็จ scaffolding ไม่ใช่เพียงแค่ให้คำแนะนำในการปฏิบัติที่เหมาะสมเท่านั้น แต่ยังหมายถึงกลยุทธ์เพื่อช่วยให้บรรลุการเรียน

 3.   วัตถุประสงค์ (Objectives)
      1) เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมแบบเมตาคอกนิทีฟ โดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล และ Scaffolding
      2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพและความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านเทคนิค และกระบวนการ
      3) เพื่อทดสอบผลลัพธ์ของการพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้โดยกลุ่มนักเรียนนำร่อง (Pilot)

4. เครื่องมือและวิธีการ (Materials and Methods)
      เริ่มจากเครื่องมือ การวิจัยประกอบด้วย 3 ข้อ
1)      การพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบเมตาคอกนิทีฟโดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูลและ
Scaffolding
2)      แบบสอบถามสำหรับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา เทคนิค และกระบวนการ
3)      แบบสอบถามสำหรับนักเรียนนำร่อง(Pilot)

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง(Population and Sample)
            งานวิจัยนี้ใช้ตัวอย่างประชากร 71 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกคือ ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ด้านเนื้อหา การสอนภาษาอังกฤษ ผู้ซึ่งจะพิจารณาคุณภาพด้านเนื้อหาของบทเรียน เรื่อง tense กลุ่มที่สอง คือผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ด้านเทคนิคและกระบวนการ ในสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษาและเทคโนโลยีการศึกษา ผู้ซึ่งจะพิจารณาความสะดวกและคุณภาพของเทคนิคและกระบวนการในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
กลุ่มที่ 3 นักเรียนนำร่องจำนวน 61 คน ผู้ซึ่งจะถูกทดสอบเพื่อหาคุณภาพและการนำสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบเมตาคอกเนทีฟ มาใช้

การวิเคราะห์ข้อมูล
            สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จัดเก็บคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

5. ผลการวิจัยและการอภิปรายผล (The Results and Discussion)
            จากวัตถุประสงค์การวิจัยในข้อแรกเกี่ยวกับการพัฒนา สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เมตาคอกนิทีฟด้วยเทคนิคดาต้าไมนิ่งและ scaffolding ได้ถูกแสดงในแต่ละขั้นตอนการนำไปใช้ ดังนี้
            เครื่องมือแรก ได้พัฒนาด้วยภาษา PHP ซึ่งเป็นเว็บโปรแกรมการเขียนเว็บด้วยอัลกอริทึมสำหรับเทคนิคดาต้าไมนิ่ง เพื่อจัดแบ่งและแบ่งกลุ่ม (Classify และ Cluster) ของข้อมูลพฤติกรรมของนักเรียน
            
ภาพที่ 2 ขั้นตอนการควบคุมใน Metacognitive (Procedure in Metacognitive Regulation)

 
              ภาพที่ 2 แสดงถึงภาพ 4 ขั้นตอนของ Metacognitive regulation คือวางแผน ติดตามผล และควบคุม ประเมินผล และปรับปรุง

            ภาพที่ 3 ขั้นการวางแผน (Planning Process)


ภาพที่ 3 แสดงหน้าจอขั้นตอนการวางแผนซึ่งนักเรียนจะได้รับการแจ้งข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาของบทเรียนเพื่อให้นักเรียนสามารถ ตระหนักรู้ว่า พวกเขาจำเป็นต้องใช้เวลาเรียนมากน้อยเพียงใดในบทเรียนนี้ 

                                                                                         
ภาพที่ 4 ขั้นการติดตามและควบคุม (Monitoring and Control Process)

 










        ภาพที่ 4 แสดงภาพของขั้นตอนการติดตามและควบคุม เกี่ยวกับแบบฝึกหัดและแบบคำถาม เพื่อช่วยให้นักเรียนมั่นใจในการเรียน

            ภาพที่ 5 ขั้นการประเมินผล (Evaluation Process)



 ภาพที่ 5 แสดงถึงภาพขั้นตอนการประเมินผล ซึ่งจะนำนักเรียนให้ทำการทดสอบหลังบทเรียน และประเมินตนเองในแต่ละบทเรียนที่สามารถจะทราบถึงผลการเรียน และเตือนตนเองได้ เกี่ยวกับขั้นตอนที่เหมาะสมสำหรับให้บรรลุการเรียนรู้ต่อไป

            ภาพที่ 6 ขั้นการปรับปรุงแก้ไข



ภาพที่ 6 แสดงถึงขั้นตอนการปรับปรุงซึ่งผู้เรียนจะได้รับแจ้งผลคะแนนก่อนและหลังเรียน ระยะเวลาที่ใช้ และเลือกรูปแบบการเรียนตามความพอใจในแต่ละคน ดังนั้นนักเรียนจะสามารถเปลี่ยนแผนหรือปรับปรุงตนเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเรียนครั้งหน้าได้
สำหรับวัตถุประสงค์ที่ 2 ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา เทคนิค และกระบวนการ ได้ถูกแสดงในตารางที่ 1  และ 2  ตามลำดับ

ตารางที่ 1:  ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา

การประเมินผลของความเหมาะสมในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบเมตาคอกนิทีฟ โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า Metacognitive Regulation (4 ชนิด) อยู่ในระดับสูงที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 ในขณะที่ ประเภท Scaffolding และเนื้อหาอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยน 4.43 และ 4.31 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64 และ 0.64 ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยของด้านเนื้อหาทั้งหมด(4 แบบ) อยู่ในระดับสูง ที่ค่าเฉลี่ย 4.43 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57

ตารางที่ 2: ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและกระบวนการ


ตารางที่ 2 ผลประเมินความพึงพอใจ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ประเภท Scaffolding มีระดับความพึงพอใจสูงสุด ค่าเฉลี่ย 4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.59 และ Metacognitive Knowledge Classification และ Metacognitive Regulation อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 4.44 และ 4.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54 และ 0.66 ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยของด้านเทคนิค และกระบวนการ อยู่ในระดับสูงที่ค่าเฉลี่ย 4.23 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66
          สำหรับวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อสำรวจความพึงพอใจจากนักเรียนนำร่อง ได้แสดงไว้ในตารางที่ 3

ตารางที่ 3: ความคิดเห็นของนักเรียนนำร่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้เรื่อง Metacognitive


            นักเรียนนำร่องให้ระดับความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบเมตาคอกนิทีฟ ที่ได้พัฒนาขึ้น ในทุกด้านอยู่ที่ระดับสูง ค่าเฉลี่ย 4.18 SD. 0.71

6. บทสรุป (Conclustion)
            เกี่ยวกับการพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบเมตาคอกนิทีฟด้วยการใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล และ Scaffolding ได้ใช้แนวคิดของ Metacognition เทคนิคเหมืองข้อมูล เช่น Classification, Clustering และ Scaffolding ได้ถูกออกแบบและพัฒนาให้เป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้กับนักเรียนในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Tense
            อันดับแรก Metacognition ได้ถูกแบ่งออกเป็น Metacognitive Knowledge และ Metacognitive Regulation สำหรับ Metacognitive Knowledge  ใช้ Classification เป็นเครื่องมือเพื่อกำหนด  Metacognitive knowledge ทั้งแบบ Implicit and Explicit ของนักเรียนแต่ละคนก่อนเริ่มเรียน ในทางตรงกันข้าม Metacognitive regulation ได้ถูกออกแบบ ตามการวิจัยที่ผ่านมาเป็น 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การรติดตามและควบคุม การประเมินผล และการปรับปรุง
            อันดับที่สอง เทคนิคเหมืองข้อมูล นับเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูงสำหรับการจัดการ ชุดข้อมูล จำนวนมาก งานวิจัยนี้ได้ใช้การ Classification and  Clustering โดย Classification เป็นเทคนิคในการทำงานหรือจัดแบ่งคุณสมบัติของข้อมูลออกเป็น Implicit or Explicit Metacognitive knowledge สำหรับการ clustering เป็น unsupervised learning ขั้นตอนการแบ่งข้อมูลที่มีความคล้ายกัน ดังนั้นเราสามารถแบ่งพฤติกรรมของผู้เรียนเกี่ยวกับการเรียนของนักเรียนตามทักษะ Metacognitive Learning ได้
            อันดับสาม สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เป็นเครื่องมืองที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถเรียนได้ง่ายขึ้นได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น แนวคิดนี้ได้ถูกพัฒนาเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบเมตาคอกนิทีฟ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองได้
            จากนั้นจะทำการเพิ่ม Scaffolding ลงในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบ Metacognitive เพื่อช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจว่าจะสามารถเรียนรู้ด้วยสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบเมตาคอกนิทีฟได้อย่างไร
       ท้ายสุดทุกเครื่องมือที่ได้พัฒนาขึ้นในการวิจัยจะถูกตรวจสอบคุณภาพและระดับความพึงพอใจก่อนการทดสอบจริงจากผู้เชี่ยวชาญและนักเรียนนำร่อง

7. กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements)
      งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนโดยขอขอบคุณโครงการเครือข่ายเชิงกลยุทธ์เพื่อการผลิตและพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ที่ให้ทุนสนับสนุนการศึกษา และฝึกงานวิจัยในต่างประเทศ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ในการวิจัยอย่างเต็มที่สำหรับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญาเอก ได้รับการยกย่องอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร

อ้างอิง (References)
[1] John H. Flavell, 1987. “Speculations about the Nature and Development of Metacognition,”
Metacognition Motivation, and Understanding, Lawrence Erlbaum Associates Publishers: New
Jersey.
[2] Feryal Cubukcu, 2009. “Metacognition in the Classroom”, World Conference on Educational
Sciences 2009, Procedia Social and Behavioral Science 1, pp. 559-563.
[3] Phongthanat S.,Charan S., Sumalee C. 2012. “A Comparison of Classification Technique for
Metacognitive Knowledge”, Advanced Materials Research Vols.403-408, pp. 4538-4542.
[4] Phongthanat S.,Charan S., Sumalee C. 2011. “A Synthesis of Metacognitive Regulation for
Metacognitive Learning Environment”, ICER2011: Learning Communities for sustainable
Development pp. 177-181
[5] Christina Andrade, 2006. “What is Metacognition?,” Advanced Topics in Cognitive & Affective
Bases of Behavior, Fielding Graduate University, pp 1-20.
[6] Sumalee Chaijaroen, 2008. “Educational Technology : Principles Theories to Practice”,
Klangnanawittaya Publishing, Khon Kaen, Thailand
[7] Saskia Kistner, Katrin Rakoczy, Barbara Otto, Charlotte Dignath-van Ewijk, Gerhard Büttner,
Eckhard Klieme, 2010. “Promotion of self-regulated learning in classrooms: investigating
frequency, quality, and consequences for student performance” Metacognition Learning vol.5,
pp.157-171.
[8] Pang-Ning Tan, Michael Steinbach, and Vipin Kumar, 2005. “Introduction to Data Mining,”
Addison Wesley, pp.146-149.
[9] Wood, D., Bruner, J., and Ross, G. 1976. “The Role of Tutoring in Problem Solving.” Journal
of Child Psychology and Psychiatry. 17 pp. 89-100.


..........................................................
60603086 เฌอริสา นันทา
60603087 ฐานันท์ ตั้งรุจิกุล




































ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวอย่างงานวิจัยตามทฤษฎีของ Vygotsky :Activity Theory